ประวัติศาสตร์เมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย ที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นสิ่งสำคัญเพราะชนชาติที่สร้างสรรค์อารยธรรมนี้ได้สร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่าแก่มนุษยชาติอย่างมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์อักษร การค้นพบดวงดาวที่สำคัญ การสร้างระบบชลประทาน หรือแม้แต่การตรากฎหมายที่สำคัญของพระเจ้าฮัมบูราบี
ซึ่งรายละเอียดจะได้ร่วมกันอภิปรายต่อไปนี้
ไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์อักษร การค้นพบดวงดาวที่สำคัญ การสร้างระบบชลประทาน หรือแม้แต่การตรากฎหมายที่สำคัญของพระเจ้าฮัมบูราบี
ซึ่งรายละเอียดจะได้ร่วมกันอภิปรายต่อไปนี้
แนวความคิดของอารยธรรมสมัยเมโสโปเตเมีย
1. มนุษย์รวมตัวกันอยู่ในรูปองค์กรทางการเมือง แบบนครรัฐเป็นอันดับแรก และสามารถสร้างสรรค์ความเจริญภายใต้รูปแบบการปกครอง
2. การผลิตจนเหลือกินเหลือใช้ในชุมชนหนึ่งกับความยากไร้และแร้นแค้นในบางชุมชนก่อให้เกิดสงครามซึ่งตามมาด้วยการที่ชุมชนหนึ่ง
สถาปนาอำนาจเหนือชุมชนอื่นๆ ที่พ่ายแพ้ในรูปขององค์กรทางการเมืองแบบจักรพรรดิ
3. การขยายตัวทางการเมือง และเศรษฐกิจในรูปแบบของจักรวรรดิในยุคแรกเป็นไปอย่างกว้างขวาง
2. การผลิตจนเหลือกินเหลือใช้ในชุมชนหนึ่งกับความยากไร้และแร้นแค้นในบางชุมชนก่อให้เกิดสงครามซึ่งตามมาด้วยการที่ชุมชนหนึ่ง
สถาปนาอำนาจเหนือชุมชนอื่นๆ ที่พ่ายแพ้ในรูปขององค์กรทางการเมืองแบบจักรพรรดิ
3. การขยายตัวทางการเมือง และเศรษฐกิจในรูปแบบของจักรวรรดิในยุคแรกเป็นไปอย่างกว้างขวาง
ดังนั้นเราจำต้องพิจารณาปัจจัยดังกล่าวเพื่อทำความเข้าใจในประเด็นของเนื้อหาเพื่อดังต่อไปนี้ด้วยคือ
1. วิเคราะห์การจัดรูปองค์กรทางการเมืองแบบแรกของโลก ความสัมพันธ์ของรูปแบบองค์กรนั้นกับความสำเร็จของชุมชนนั้น
และบอกความหมายของนครรัฐได้ถูกต้อง
2. บวกสาเหตุขั้นพื้นฐานของสงครามโดยดูตัวอย่างจากความเป็นจริง ในพฤติกรรมของชุมชนโบราณ และสามารถอธิบาย
ความหมายของจักรวรรดิได้ถูกต้อง
3. จำแนกประเภทของการรุกรานและผลของการรุกราน
1. วิเคราะห์การจัดรูปองค์กรทางการเมืองแบบแรกของโลก ความสัมพันธ์ของรูปแบบองค์กรนั้นกับความสำเร็จของชุมชนนั้น
และบอกความหมายของนครรัฐได้ถูกต้อง
2. บวกสาเหตุขั้นพื้นฐานของสงครามโดยดูตัวอย่างจากความเป็นจริง ในพฤติกรรมของชุมชนโบราณ และสามารถอธิบาย
ความหมายของจักรวรรดิได้ถูกต้อง
3. จำแนกประเภทของการรุกรานและผลของการรุกราน
อารยธรรมสมัยเมโสโปเตเมีย
เมโสโปเตเมีย เป็นคำภาษากรีก แปลว่า ระหว่างแม่น้ำ ดินแดนที่ชาวกรีกเรียกว่าเมโสโปเตเมียนี้ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำไทกรีสและยูเฟรตีส
เป็นส่วนหนึ่งของ “ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์” ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
และอ่าวเปอร์เซีย
เป็นส่วนหนึ่งของ “ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์” ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
และอ่าวเปอร์เซีย
เมโสโปเตเมีย เป็นดินแดนที่อากาศร้อนและกันดารฝน น้ำที่ได้รับส่วนใหญ่เป็น น้ำจากแม่น้ำที่มาจากหิมะละลายในภาคฤดูร้อนบนเทือกเขาในอาร์มิเนีย
น้ำจะพัดพาเอาโคลนตมมาทับถมชายฝั่งทั้งสอง ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก การเอ่อล้นของน้ำอันเกิดจากหิมะละลายไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนและบางครั้งทำความเสียหายแก่บ้านเมือง ไร่นา ทรัพย์สินและชีวิตผู้คน การกสิกรรมที่จะได้ผลดีในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ต้องอาศัยระบบการชลประทานที่มีประสิทธิภาพ
น้ำจะพัดพาเอาโคลนตมมาทับถมชายฝั่งทั้งสอง ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก การเอ่อล้นของน้ำอันเกิดจากหิมะละลายไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนและบางครั้งทำความเสียหายแก่บ้านเมือง ไร่นา ทรัพย์สินและชีวิตผู้คน การกสิกรรมที่จะได้ผลดีในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ต้องอาศัยระบบการชลประทานที่มีประสิทธิภาพ
ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำเป็นเครื่องดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาทำมาหากินในบริเวณนี้ แต่ความร้อนของอากาศก็เป็นเครื่องบั่นทอนกำลัง
ของผู้คนที่อาศัยอยู่ทำให้คนเหล่านั้นขาดความกระตือรือร้น เมื่อมีพวกอื่นเข้ารุกรานจึงต้องหลีกทางให้ผู้ที่เข้ามาใหม่ซึ่งเมื่ออยู่ไปนานๆ
เข้าก็ประสบภาวะเดียวกันต้องหลีกให้ผู้อื่นต่อไป พวกที่เข้ามารุกรานส่วนใหญ่มักจะมาจากบริเวณหุบเขาที่ราบสูงทางภาคเหนือและตะวันออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเขตลุ่มแม่น้ำ และยังมีพวกที่มาจากทะเลทรายซีเรียและอารเบีย เรื่องราวของดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอารยธรรมของคนกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่มมิได้เป็นเรื่องราวของอารยธรรมที่สืบต่อกันเป็นเวลายาวนานดังเช่นอารยธรรมอียิปต์
ของผู้คนที่อาศัยอยู่ทำให้คนเหล่านั้นขาดความกระตือรือร้น เมื่อมีพวกอื่นเข้ารุกรานจึงต้องหลีกทางให้ผู้ที่เข้ามาใหม่ซึ่งเมื่ออยู่ไปนานๆ
เข้าก็ประสบภาวะเดียวกันต้องหลีกให้ผู้อื่นต่อไป พวกที่เข้ามารุกรานส่วนใหญ่มักจะมาจากบริเวณหุบเขาที่ราบสูงทางภาคเหนือและตะวันออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเขตลุ่มแม่น้ำ และยังมีพวกที่มาจากทะเลทรายซีเรียและอารเบีย เรื่องราวของดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอารยธรรมของคนกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่มมิได้เป็นเรื่องราวของอารยธรรมที่สืบต่อกันเป็นเวลายาวนานดังเช่นอารยธรรมอียิปต์
คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนขึ้นเป็น
พื้นฐานสำคัญ ของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยธรรม ตัวอักษร ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ
พื้นฐานสำคัญ ของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยธรรม ตัวอักษร ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ
ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
เมโสโปเตเมียแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยโบราณคำว่าเมโสโปเตเมียเป็นภาษากรีก มีความหมายว่าดินแดนระหว่างแม่น้ำที่สอง
คือแม่น้ำไทกรีส (Tigris) และ ยูเฟรตีส (Euphrates) ปัจจุบันคือประเทศอิรัก มีนครหลวงคือกรุงแบกแดด แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์มีเนีย
และเอเซียไมเนอร์ไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย
คือแม่น้ำไทกรีส (Tigris) และ ยูเฟรตีส (Euphrates) ปัจจุบันคือประเทศอิรัก มีนครหลวงคือกรุงแบกแดด แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์มีเนีย
และเอเซียไมเนอร์ไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย
บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia) เป็นเขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีชื่อเรียกในสมัยหนึ่งว่าชินาร์ (Shina) เกิดจากการทับถมของดินที่แม่น้ำพัดพามากล่าวคือในฤดูร้อนหิมะบนภูเขาในอาร์มีเนียละลายไหลบ่าลงมาทางใต้พัดพาเอาโคลนตมมาทับถมไว้ยัง
บริเวณปากน้ำทำให้พื้นดินตรงปากแม่น้ำงอกออกทุกปี โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1 ไมล์ครึ่ง ทุกๆ ศตวรรษ ( ประมาณปีละ 29 นิ้วครึ่ง)
บริเวณปากน้ำทำให้พื้นดินตรงปากแม่น้ำงอกออกทุกปี โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1 ไมล์ครึ่ง ทุกๆ ศตวรรษ ( ประมาณปีละ 29 นิ้วครึ่ง)
อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย มีทิศเหนือจรดทะเลดำ และทะสาบแคสเบียน ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดง
และมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกจรดที่ราบซีเรีย และปาเลสไตน์ ส่วนทิศตะวันออกจรดที่ราบสูงอิหร่าน
และมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกจรดที่ราบซีเรีย และปาเลสไตน์ ส่วนทิศตะวันออกจรดที่ราบสูงอิหร่าน
เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ์เรียกว่าบาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้งเรียกว่าแอสซีเรีย (Assyria) บริเวณทั้งหมดมีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชาติใดมีอำนาจก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน
นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า ไม่มีแห่งหนตำบลใด จะมีชาติพันธุ์มนุษย์ผสมปนเปกันมากมายเหมือนที่นี่ และยังเป็นยุทธภูมิระหว่างตะวันตก
กับตะวันออกตลอดสมัยประวัติศาสตร์ ดังนั้น ประวัติเรื่องราวต่างๆ ของชนชาติเหล่านี้จึงค่อนข้างสับสน
นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า ไม่มีแห่งหนตำบลใด จะมีชาติพันธุ์มนุษย์ผสมปนเปกันมากมายเหมือนที่นี่ และยังเป็นยุทธภูมิระหว่างตะวันตก
กับตะวันออกตลอดสมัยประวัติศาสตร์ ดังนั้น ประวัติเรื่องราวต่างๆ ของชนชาติเหล่านี้จึงค่อนข้างสับสน
ประวัติศาสตร์ของดินแดนแห่งนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเจริญของแต่ละแคว้นที่แยกออกจากกัน และเรื่องราวทางอารยธรรมในเมโสโปเตเมีย
มีหลักฐานยืนยันทางโบราณคดีว่าเก่าแก่นานนับถึง 8,000 – 7,000 B.C. เช่น การขุดพบหมู่บ้านที่เมืองจาร์โม (Jarmo) ในอิรักใกล้แม่น้ำไทกรีส
เมืองซาทาล ฮือยึค (Catal Huyl) ภายใต้ของอนาโตเลีย (ประเทศตุรกี) ซึ่งเมื่อเทียบกับอิยิปต์แล้ว หลักฐานทางโบราณคดีในเมืองเก่าแก่ใกล้ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์คือที่ไฟยูม (Faiyum) มีอายุเพียง 4,500 B.C. เท่านั้น ตัวอักษรของเมโสโปเตเมียก็ปรากฎว่าใช้มานานแล้ว
อาจจะก่อนอียิปต์หลายร้อยปีอีกด้วย แต่ก็ไม่ปรากฎยืนยันว่าตัวอักษรของเมโสโปเตเมียให้อิทธิพลแก่อียิปต์แต่อย่างใด
มีหลักฐานยืนยันทางโบราณคดีว่าเก่าแก่นานนับถึง 8,000 – 7,000 B.C. เช่น การขุดพบหมู่บ้านที่เมืองจาร์โม (Jarmo) ในอิรักใกล้แม่น้ำไทกรีส
เมืองซาทาล ฮือยึค (Catal Huyl) ภายใต้ของอนาโตเลีย (ประเทศตุรกี) ซึ่งเมื่อเทียบกับอิยิปต์แล้ว หลักฐานทางโบราณคดีในเมืองเก่าแก่ใกล้ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์คือที่ไฟยูม (Faiyum) มีอายุเพียง 4,500 B.C. เท่านั้น ตัวอักษรของเมโสโปเตเมียก็ปรากฎว่าใช้มานานแล้ว
อาจจะก่อนอียิปต์หลายร้อยปีอีกด้วย แต่ก็ไม่ปรากฎยืนยันว่าตัวอักษรของเมโสโปเตเมียให้อิทธิพลแก่อียิปต์แต่อย่างใด
ชนชาติกลุ่มแรกที่มีอายุในสมัยหิน และเข้ามาอยู่อาศัยระหว่างหุบเขาริมแม่น้ำจอร์แดนประเทศอิรัก เรียกว่า เจริโค (Jericho)มีอายุราว 8,000 B.C. การขุดค้นหลักฐานทางโบราณคดีขุดค้นซากกำแพงยาวสร้างด้วยหิน สูงถึง 12 ฟุต หนา 5 ฟุต และพบซากหอคอยซึ่งมีความสูงถึง 30 ฟุต รูปแบบการก่อสร้างแสดงอารยธรรมดั้งเดิมของมนุษย์ทีใช้มาก่อสร้าง
ชนกลุ่มต่อมา คือซาทาล ฮือยึค (Catal Huyuk) มีอายุราว 7000-5000 B.C. นักโบราณคดีได้ขุดลงไปพบเมืองต่างๆ ที่ทับถมเป็นชั้นๆ
ถึง 12 ชั้น และชั้นที่ 4 พบซากเมืองมีผังต่อเนื่องคล้ายเมืองใหญ่ แต่ไม่มีถนน ตัวอาคารเป็นห้องโถง มีภาพเขียนหนัง
และตกแต่งปฏิมากรรมที่ทำมาจากเขาสัตว์ งานจิตรกรรมบนผนังของ ซาทาล ฮือยึค หลังจากพิสูจน์ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
แล้วปรากฎว่ามีอายุราว 6,200 B.C. เป็นภาพหมู่บ้านที่อาศัยมากมาย มีภาพภูเขาไฟกำลังระเบิด สำหรับงานปฏิมกรรม เป็นรูปปั้นจากดินดำ
และรูปแกะสลักจากหินชั้นเล็กๆ สูงประมาณ 2-8 นิ้ว
ถึง 12 ชั้น และชั้นที่ 4 พบซากเมืองมีผังต่อเนื่องคล้ายเมืองใหญ่ แต่ไม่มีถนน ตัวอาคารเป็นห้องโถง มีภาพเขียนหนัง
และตกแต่งปฏิมากรรมที่ทำมาจากเขาสัตว์ งานจิตรกรรมบนผนังของ ซาทาล ฮือยึค หลังจากพิสูจน์ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
แล้วปรากฎว่ามีอายุราว 6,200 B.C. เป็นภาพหมู่บ้านที่อาศัยมากมาย มีภาพภูเขาไฟกำลังระเบิด สำหรับงานปฏิมกรรม เป็นรูปปั้นจากดินดำ
และรูปแกะสลักจากหินชั้นเล็กๆ สูงประมาณ 2-8 นิ้ว
แม้พวกเจริโคและซาทาล ฮือยึค จะเป็นชนชาติที่ปรากฎหลักฐานว่าเก่าแก่ที่สุดในเมโสโปรเตเมีย แต่ก็เข้าใจว่ายังไม่มีอารยธรรมใดจะเป็นเครื่องยืนยันว่ามีความเจริญหลุดพ้นจากยุคหินหรือยุคโลหะมาได้ ชนชาติเก่าแก่ชาติแรกที่ปรากฎ
หลักฐานแสดงความเจริญรุ่งเรือง และมีอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดในเมโสโปเตเมีย คือ ชนชาติซูเมอร์และบาบิโลเนีย
ที่มา https://thanaphutjame.wordpress.com
หลักฐานแสดงความเจริญรุ่งเรือง และมีอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดในเมโสโปเตเมีย คือ ชนชาติซูเมอร์และบาบิโลเนีย
ที่มา https://thanaphutjame.wordpress.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น