..

..

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559



ประวัติศาสตร์เมโสโปเตเมีย

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย ที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นสิ่งสำคัญเพราะชนชาติที่สร้างสรรค์อารยธรรมนี้ได้สร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่าแก่มนุษยชาติอย่างมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์อักษร การค้นพบดวงดาวที่สำคัญ การสร้างระบบชลประทาน หรือแม้แต่การตรากฎหมายที่สำคัญของพระเจ้าฮัมบูราบี
ซึ่งรายละเอียดจะได้ร่วมกันอภิปรายต่อไปนี้
แนวความคิดของอารยธรรมสมัยเมโสโปเตเมีย
1. มนุษย์รวมตัวกันอยู่ในรูปองค์กรทางการเมือง แบบนครรัฐเป็นอันดับแรก และสามารถสร้างสรรค์ความเจริญภายใต้รูปแบบการปกครอง
2. การผลิตจนเหลือกินเหลือใช้ในชุมชนหนึ่งกับความยากไร้และแร้นแค้นในบางชุมชนก่อให้เกิดสงครามซึ่งตามมาด้วยการที่ชุมชนหนึ่ง
สถาปนาอำนาจเหนือชุมชนอื่นๆ ที่พ่ายแพ้ในรูปขององค์กรทางการเมืองแบบจักรพรรดิ
3. การขยายตัวทางการเมือง และเศรษฐกิจในรูปแบบของจักรวรรดิในยุคแรกเป็นไปอย่างกว้างขวาง
ดังนั้นเราจำต้องพิจารณาปัจจัยดังกล่าวเพื่อทำความเข้าใจในประเด็นของเนื้อหาเพื่อดังต่อไปนี้ด้วยคือ
1. วิเคราะห์การจัดรูปองค์กรทางการเมืองแบบแรกของโลก ความสัมพันธ์ของรูปแบบองค์กรนั้นกับความสำเร็จของชุมชนนั้น
และบอกความหมายของนครรัฐได้ถูกต้อง
2. บวกสาเหตุขั้นพื้นฐานของสงครามโดยดูตัวอย่างจากความเป็นจริง ในพฤติกรรมของชุมชนโบราณ และสามารถอธิบาย
ความหมายของจักรวรรดิได้ถูกต้อง
3. จำแนกประเภทของการรุกรานและผลของการรุกราน
อารยธรรมสมัยเมโสโปเตเมีย
เมโสโปเตเมีย เป็นคำภาษากรีก แปลว่า ระหว่างแม่น้ำ ดินแดนที่ชาวกรีกเรียกว่าเมโสโปเตเมียนี้ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำไทกรีสและยูเฟรตีส
เป็นส่วนหนึ่งของ “ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์” ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
และอ่าวเปอร์เซีย
เมโสโปเตเมีย เป็นดินแดนที่อากาศร้อนและกันดารฝน น้ำที่ได้รับส่วนใหญ่เป็น น้ำจากแม่น้ำที่มาจากหิมะละลายในภาคฤดูร้อนบนเทือกเขาในอาร์มิเนีย
น้ำจะพัดพาเอาโคลนตมมาทับถมชายฝั่งทั้งสอง ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก การเอ่อล้นของน้ำอันเกิดจากหิมะละลายไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนและบางครั้งทำความเสียหายแก่บ้านเมือง ไร่นา ทรัพย์สินและชีวิตผู้คน การกสิกรรมที่จะได้ผลดีในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ต้องอาศัยระบบการชลประทานที่มีประสิทธิภาพ
ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำเป็นเครื่องดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาทำมาหากินในบริเวณนี้ แต่ความร้อนของอากาศก็เป็นเครื่องบั่นทอนกำลัง
ของผู้คนที่อาศัยอยู่ทำให้คนเหล่านั้นขาดความกระตือรือร้น เมื่อมีพวกอื่นเข้ารุกรานจึงต้องหลีกทางให้ผู้ที่เข้ามาใหม่ซึ่งเมื่ออยู่ไปนานๆ
เข้าก็ประสบภาวะเดียวกันต้องหลีกให้ผู้อื่นต่อไป พวกที่เข้ามารุกรานส่วนใหญ่มักจะมาจากบริเวณหุบเขาที่ราบสูงทางภาคเหนือและตะวันออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเขตลุ่มแม่น้ำ และยังมีพวกที่มาจากทะเลทรายซีเรียและอารเบีย เรื่องราวของดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอารยธรรมของคนกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่มมิได้เป็นเรื่องราวของอารยธรรมที่สืบต่อกันเป็นเวลายาวนานดังเช่นอารยธรรมอียิปต์
คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนขึ้นเป็น
พื้นฐานสำคัญ ของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยธรรม ตัวอักษร ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ
ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
เมโสโปเตเมียแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยโบราณคำว่าเมโสโปเตเมียเป็นภาษากรีก มีความหมายว่าดินแดนระหว่างแม่น้ำที่สอง
คือแม่น้ำไทกรีส (Tigris) และ ยูเฟรตีส (Euphrates) ปัจจุบันคือประเทศอิรัก มีนครหลวงคือกรุงแบกแดด แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์มีเนีย
และเอเซียไมเนอร์ไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย
บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia) เป็นเขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีชื่อเรียกในสมัยหนึ่งว่าชินาร์ (Shina) เกิดจากการทับถมของดินที่แม่น้ำพัดพามากล่าวคือในฤดูร้อนหิมะบนภูเขาในอาร์มีเนียละลายไหลบ่าลงมาทางใต้พัดพาเอาโคลนตมมาทับถมไว้ยัง
บริเวณปากน้ำทำให้พื้นดินตรงปากแม่น้ำงอกออกทุกปี โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1 ไมล์ครึ่ง ทุกๆ ศตวรรษ ( ประมาณปีละ 29 นิ้วครึ่ง)
อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย มีทิศเหนือจรดทะเลดำ และทะสาบแคสเบียน ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดง
และมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกจรดที่ราบซีเรีย และปาเลสไตน์ ส่วนทิศตะวันออกจรดที่ราบสูงอิหร่าน
เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ์เรียกว่าบาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้งเรียกว่าแอสซีเรีย (Assyria) บริเวณทั้งหมดมีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชาติใดมีอำนาจก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน
นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า ไม่มีแห่งหนตำบลใด จะมีชาติพันธุ์มนุษย์ผสมปนเปกันมากมายเหมือนที่นี่ และยังเป็นยุทธภูมิระหว่างตะวันตก
กับตะวันออกตลอดสมัยประวัติศาสตร์ ดังนั้น ประวัติเรื่องราวต่างๆ ของชนชาติเหล่านี้จึงค่อนข้างสับสน
ประวัติศาสตร์ของดินแดนแห่งนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเจริญของแต่ละแคว้นที่แยกออกจากกัน และเรื่องราวทางอารยธรรมในเมโสโปเตเมีย
มีหลักฐานยืนยันทางโบราณคดีว่าเก่าแก่นานนับถึง 8,000 – 7,000 B.C. เช่น การขุดพบหมู่บ้านที่เมืองจาร์โม (Jarmo) ในอิรักใกล้แม่น้ำไทกรีส
เมืองซาทาล ฮือยึค (Catal Huyl) ภายใต้ของอนาโตเลีย (ประเทศตุรกี) ซึ่งเมื่อเทียบกับอิยิปต์แล้ว หลักฐานทางโบราณคดีในเมืองเก่าแก่ใกล้ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์คือที่ไฟยูม (Faiyum) มีอายุเพียง 4,500 B.C. เท่านั้น ตัวอักษรของเมโสโปเตเมียก็ปรากฎว่าใช้มานานแล้ว
อาจจะก่อนอียิปต์หลายร้อยปีอีกด้วย แต่ก็ไม่ปรากฎยืนยันว่าตัวอักษรของเมโสโปเตเมียให้อิทธิพลแก่อียิปต์แต่อย่างใด
ชนชาติกลุ่มแรกที่มีอายุในสมัยหิน และเข้ามาอยู่อาศัยระหว่างหุบเขาริมแม่น้ำจอร์แดนประเทศอิรัก เรียกว่า เจริโค (Jericho)มีอายุราว 8,000 B.C. การขุดค้นหลักฐานทางโบราณคดีขุดค้นซากกำแพงยาวสร้างด้วยหิน สูงถึง 12 ฟุต หนา 5 ฟุต และพบซากหอคอยซึ่งมีความสูงถึง 30 ฟุต รูปแบบการก่อสร้างแสดงอารยธรรมดั้งเดิมของมนุษย์ทีใช้มาก่อสร้าง
ชนกลุ่มต่อมา คือซาทาล ฮือยึค (Catal Huyuk) มีอายุราว 7000-5000 B.C. นักโบราณคดีได้ขุดลงไปพบเมืองต่างๆ ที่ทับถมเป็นชั้นๆ
ถึง 12 ชั้น และชั้นที่ 4 พบซากเมืองมีผังต่อเนื่องคล้ายเมืองใหญ่ แต่ไม่มีถนน ตัวอาคารเป็นห้องโถง มีภาพเขียนหนัง
และตกแต่งปฏิมากรรมที่ทำมาจากเขาสัตว์ งานจิตรกรรมบนผนังของ ซาทาล ฮือยึค หลังจากพิสูจน์ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
แล้วปรากฎว่ามีอายุราว 6,200 B.C. เป็นภาพหมู่บ้านที่อาศัยมากมาย มีภาพภูเขาไฟกำลังระเบิด สำหรับงานปฏิมกรรม เป็นรูปปั้นจากดินดำ
และรูปแกะสลักจากหินชั้นเล็กๆ สูงประมาณ 2-8 นิ้ว
แม้พวกเจริโคและซาทาล ฮือยึค จะเป็นชนชาติที่ปรากฎหลักฐานว่าเก่าแก่ที่สุดในเมโสโปรเตเมีย แต่ก็เข้าใจว่ายังไม่มีอารยธรรมใดจะเป็นเครื่องยืนยันว่ามีความเจริญหลุดพ้นจากยุคหินหรือยุคโลหะมาได้ ชนชาติเก่าแก่ชาติแรกที่ปรากฎ
หลักฐานแสดงความเจริญรุ่งเรือง และมีอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดในเมโสโปเตเมีย คือ ชนชาติซูเมอร์และบาบิโลเนีย


ที่มา https://thanaphutjame.wordpress.com
ประวัติศาสตร์จีน
    สงครามกลางเมือง (Chinese Civil War) ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับพรรคก๊กมินตั๋ง (ชื่อทางการว่า:พรรคชาตินิยมแห่งประเทศจีน(KMT)) สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2492 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยจบลงด้วยการที่ พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เข้าปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนพรรคก๊กมินตั๋งได้เข้าปกครองไต้หวัน และเกาะบางเกาะในมณฑลฝูเจี้ยน ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 เหมาเจ๋อตุง ได้ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน และปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ การปกครองในสมัยของเหมานั้น เข้มงวดและกวดขัน แม้กระทั่งชีวิตประจำวันของประชาชน
หมาเจ๋อตุงประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนที่จัตุรัสเทียนอันเหมินและปกครองระบอบคอมมิวนิสต์
            หลังจากที่เหมาถึงแก่อสัญกรรม เติ้งเสี่ยวผิงก็ได้ขึ้นสู่อำนาจ โดยจีนยังคงอยู่ในระบอบคอมมิวนิสต์ หลังจากนั้นรัฐบาลจีนจึงได้ค่อยๆ ลดการควบคุมชีวิตส่วนตัวของประชาชน และพยายามที่จะปฏิรูประบบเศรษฐกิจของตนให้เป็นไปตามกลไกตลาด

ตารางแสดงช่วงเวลาของราชวงศ์และยุคในประวัติศาสตร์จีน

  • ก่อนประวัติศาสตร์ ราว 3 ล้านปี – ปี 2100 ก่อน ค.ศ.
  • ราชวงศ์เซี่ย (夏) ราวปี 2100 – 1600 ก่อน ค.ศ. ราว 500 ปี
  • ราชวงศ์ซาง (商) ราวปี 1600 - 1028 ก่อน ค.ศ. ราว 550 ปีขึ้นไป
  • ราชวงศ์โจว (周 ) ราวปี 1027 – 256 ก่อน ค.ศ. ราว 770 ปี แยกได้เป็น
    - โจวตะวันตก (西周) ราวปี 1027 – 771 ก่อน ค.ศ. ราว 250 ปี
    - โจวตะวันออก (東周) ปี 770 – 256 ก่อน ค.ศ. ราว 515 ปี
  • ราชวงศ์ฉิน (秦) ปี 221 – 207 ก่อน ค.ศ. รวม 15 ปี
  • ราชวงศ์ฮั่น (漢) ปี 202 ก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 220 รวม 422 ปี แยกได้เป็น
    - ฮั่นตะวันตก (西漢) ปี 202 ก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 8 รวม 210 ปี
    - ซิน (新) ค.ศ. 9 – 23 รวม 15 ปี
    - ฮั่นตะวันออก (東漢) ค.ศ. 25 - 220 รวม 196 ปี
  • ยุคสามก๊ก (三國) ค.ศ. 220 – 265 รวม 46 ปี แยกได้เป็น
    - เว่ย (魏) ค.ศ. 220 – 265
    - สู่ (蜀) ค.ศ. 221 – 263
    - อู๋ (吳) ค.ศ. 229 – 280
  • ราชวงศ์จิ้น (晉)ค.ศ. 265 – 420 รวม 156 ปี แยกได้เป็น
    - จิ้นตะวันตก (西晉)ค.ศ. 265 – 316 รวม 52 ปี
    - จิ้นตะวันออก (東晉)ค.ศ. 317 – 420 รวม 103 ปี
  • ยุคราชวงศ์ใต้ และเหนือ (南朝 - 北朝)ค.ศ. 420 – 589 รวม 170 ปี แยกได้เป็น » ยุคราชวงศ์ใต้ แยกย่อยได้เป็น
    - ซ่ง (宋)ค.ศ. 420 – 479
    - ฉี (齊) ค.ศ. 479 – 502
    - เหลียง (梁)ค.ศ. 502 – 557
    - เฉิน (陳)ค.ศ. 557 – 589 
    » ยุคราชวงศ์เหนือ แยกย่อยได้เป็น
    - เว่ยเหนือ (北魏) ค.ศ. 386 – 534
    - เว่ยตะวันออก(東魏)ค.ศ. 534 – 550
    - เว่ยตะวันตก (西魏)ค.ศ. 535 – 556
    - ฉีเหนือ (北齊)ค.ศ. 550 – 557
    - โจวเหนือ (北周) ค.ศ. 557 – 581
  • ราชวงศ์สุย (隋)ค.ศ. 581 – 618 รวม 38 ปี
  • ราชวงศ์ถัง (唐)ค.ศ. 618 – 907 รวม 290 ปี
  • ยุค 5 ราชวงศ์ (五代) และยุค 10 แคว้น (十國)ค.ศ. 907 – 960 รวม 54 ปี แยกได้เป็น » ยุค 5 ราชวงศ์
    - โฮ่วเหลียง (後梁) ค.ศ. 907 – 923
    - โฮ่วถัง (後唐) ค.ศ. 923 – 936
    - โฮ่วจิ้น (後晉) ค.ศ. 936 – 946
    - โฮ่วฮั่น (後漢) ค.ศ. 947 – 950
    - โฮ่วโจว(後周) ค.ศ. 951 – 960 
    » ยุค 10 [[แคว้น]
    - อู๋ (吳)ค.ศ. 902 – 937
    - ถังใต้ (南唐) ค.ศ. 937 – 975
    - เฉียนสู (前蜀) ค.ศ. 907 – 925
    - โฮ่วสู (後蜀) ค.ศ. 934 – 965
    - อู๋เยี่ยว์ (吳越) ค.ศ. 907 – 978
    - ฉู่ (楚)ค.ศ. 926 – 951
    - หมิ่น (閩)ค.ศ. 909 – 945
    - ฮั่นใต้ (南唐)ค.ศ. 937 – 975
    - ผิงใต้ (南平) หรือ จิงหนาน (荊南)ค.ศ. 924 – 963
    - ฮั่นเหนือ (北漢) ค.ศ. 951 – 979
  • ราชวงศ์ซ่ง (宋) ค.ศ. 960 – 1279 รวม 320 ปี แยกได้เป็น
    - ซ่งเหนือ (北宋) ค.ศ. 960 – 1127 รวม 168 [[ปี]
    - ซ่งใต้ (南宋) ค.ศ. 1127 – 1279 รวม 153 ปี
  • ราชวงศ์หยวน (元) ค.ศ. 1271 – 1368 รวม 98 ปี
  • ราชวงศ์หมิง (明) ค.ศ. 1368 – 1644 รวม 277 ปี
  • ราชวงศ์ชิง (清) ค.ศ. 1644 – 1912 รวม 267 ปี


  • ที่มา  http://www.somsiritours.com/





ประวัติศาสตร์ประเทศอียิปต์
อียิปต์โบราณ



อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3150 ปีก่อนคริตศักราช โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 3,000 ปี ประวัติของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า "ราชอาณาจักร" มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ราชอาณาจักรใหม่" อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่น้อยมาก และส่วนมากลดลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์พ่ายแพ้ต่อการทำสงครามจากอำนาจของชาติอื่น จนกระทั่งเมื่อ 31 ปีก่อนคริตศักราชก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อจักรวรรดิโรมันสามารถเอาชนะอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิโรมัน


อารยธรรมอียิปต์พัฒนาการมาจากสภาพของลุ่มแม่น้ำไนล์ การควบคุมระบบชลประทาน, การควบคุมการผลิตพืชผลทางการเกษตร พร้อมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคม และวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปต์นั้นล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ และอียิปต์ยังเป็นชนชาติแรกๆที่มีการพัฒนาการด้วยการเขียน ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้


การบริหารอียิปต์เน้นไปทางสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตรกรรม พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาการทางทหารของอียิปต์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชอาณาจักร โดยประชาชนจะให้ความเคารพกษัตริย์ หรือฟาโรห์เสมือนหนึ่งเทพเจ้า ทำให้การบริหารราชการบ้านเมืองและการควบคุมอำนาจนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็นเพียงแต่นักเกษตรกรรม และนักสร้างสรรค์อารยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคิด, นักปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 3,000 ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์, เทคนิคการสร้างพีระมิด, วัด, โอเบลิสก์, ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่างๆในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว นักประพันธ์กว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมา


ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ๆในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็นมา เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่อารยธรรมอียิปต์ และเป็นหลักฐานแก่อารยธรรมของโลกต่อไปมา




ลำดับราชวงศ์

ปลายยุคก่อนราชวงศ์แห่งอียิปต์โบราณ
ยุคราชวงศ์ (ดูได้ที่ ลำดับราชวงศ์และฟาโรห์แห่งอียิปต์)
ราชวงศ์ต้นๆ (ราชวงศ์ที่หนึ่ง และ ราชวงศ์ที่สอง)
ราชอาณาจักรเก่า (ราชวงศ์ที่สาม ถึง ราชวงศ์ที่หก)
ช่วงต่อระยะที่หนึ่ง (ราชวงศ์ที่เจ็ด ถึง ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด)
ราชอาณาจักรกลาง (ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด ถึง ราชวงศ์ที่สิบสี่)
ช่วงต่อระยะที่สอง (ราชวงศ์ที่สิบห้า ถึง ราชวงศ์ที่สิบเจ็ด)
ราชอาณาจักรใหม่ (ราชวงศ์ที่สิบแปด ถึง ราชวงศ์ที่ยี่สิบ)
ช่วงต่อระยะที่สาม (ราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ด ถึง ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า)
ยุคปลาย (ราชวงศ์ที่ยี่สิบหก ถึง ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด)
ยุคกรีก - โรมัน(พ.ศ. 211 ถึง พ.ศ. 1182)
กษัตริย์มาซิโดเนีย (พ.ศ. 211 ถึง พ.ศ. 238)
ราชวงศ์ปโตเลมี (พ.ศ. 238 ถึง พ.ศ. 513)
อียิปต์ตุส (รัฐหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน พ.ศ. 513 ถึง พ.ศ. 1182)
มุสลิมบุกอียิปต์ (พ.ศ. 1182)

ศิลปะอียิปต์โบราณ ศิลปะอียิปต์ ( 2650 ปีก่อน พ.ศ. - พ.ศ. 510) ชาวอียิปต์มีศาสนาและพิธีกรรมอันซับซ้อน แทรกซึมอยู่เป็นวัฒนธรรมอยู่ในสังคมเป็นเวลานาน มีการนับถือเทพเจ้าที่มีลักษณะอันหลากหลาย ดังนั้น งานจิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรมส่วนมากจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรม โดยเฉพาะพิธีฝังศพ ซึ่งมีความเชื่อว่าเมื่อตายแล้วจะยังมีชีวิตอยู่ในโลกใหม่ได้อีก จึงมีการรักษาศพไว้อย่างดี และนำสิ่งของเครื่องใช้ที่มีค่าของผู้ตายบรรจุตามลงไปด้วย


จิตรกรรม

งานจิตรกรรมของอียิปต์ เป็นภาพที่เขียนไว้บนฝาผนังสุสานและวิหารต่าง ๆ สีที่ใช้ เขียนภาพทำจากวัสดุทางธรรมชาติ ได้แก่เขม่าไฟ สารประกอบทองแดง หรือสีจากดินแล้วนำมาผสมกับน้ำและยางไม้ ลักษณะของงานจิตรกรรมเป็นงานที่เน้นให้เห็นรูปร่างแบน ๆ มีเส้นรอบ นอกที่คมชัด จัดท่าทางของคนแสดงอิริยาบถต่าง ๆ ในรูปสัญลักษณ์มากกว่าแสดงความเหมือนจริงตามธรรมชาติ มักเขียนอักษรภาพลงในช่องว่างระหว่างรูปด้วย และเน้นสัดส่วนของสิ่งสำคัญในภาพให้ใหญ่โตกว่าส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นภาพของกษัตริย์หรือฟาโรห์ จะมีขนาดใหญ่กว่า มเหสี และคนทั้งหลาย นิยมระบายสีสดใส บนพื้นหลังสีขาว 


ประติมากรรม
งานประติมากรรมของอียิปต์ จะมีลักษณะเด่นกว่างานจิตรกรรม มีตั้งแต่รูปแกะสลักขนาดมหึมาไปจนถึงผลงานอันประณีตบอบบางของพวกช่างทอง ชาวอิยิปต์นิยมสร้างรูปสลักประติมากรรมจากหินชนิดต่าง ๆ เช่น หินแกรนิต หินดิโอไรด์ และหินบะซอลท์ หรือบางทีก็ เป็นหินอะลาบาสเตอร์ ซึ่งเป็นหินเนื้ออ่อนสีขาว ถ้าเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ก็มักเป็นหินทราย นอกจากนี้ยังการมีทำจากหินปูน และไม้ซึ่งมักจะพอกด้วยปูนและระบายสีด้วย งานประติมากรรมขนาดเล็กมักจะทำจากวัสดุมีค่า เช่น ทองคำ เงิน อิเลคตรัม หินลาปิสลาซูลี เซรามิค ฯลฯ
ประติมากรรมของอียิปต์มีทั้งแบบนูนต่ำ แบบลอยตัว แบบนูนต่ำมักจะแกะสลักลวดลายภาพบนผนัง บนเสาวิหาร และประกอบรูปลอยตัว ประติมากรรมแบบลอยตัวมักทำเป็น รูปเทพเจ้าหรือรูปฟาโรห์ ที่มีลักษณะคล้ายกับเทพเจ้า นอกจากนี้ยังทำเป็นรูปข้าทาสบริวาร สัตว์เลี้ยง และ สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบในพิธีศพอีกด้วย ในที่นี้ทางเราจึงให้ข้อมูลครบถ้วน

สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมอียิปต์ ใช้ระบบโครงสร้างเสาและคาน แสดงรูปทรงที่เรียบง่ายและ แข็งทื่อ ขนาดช่องว่างภายในมีเล็กน้อยและต่อเนื่องกันโดยตลอด สถาปัตยกรรมสำคัญของชาวอียิปต์ได้แก่ สุสานที่ฝังศพ ซึ่งมีตั้งแต่ของประชาชนธรรมดาไปจนถึงกษัตริย์ ซึ่งจะมีความวิจิตร พิสดาร ใหญ่โตไปตามฐานะ และอำนาจ ลักษณะของการสร้างสุสานที่เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญแห่งยุคก็คือ ปิรามิด ปิรามิดในยุคแรกเป็นแบบขั้นบันได หรือเรียกว่า มัสตาบา ต่อมามีการพัฒนา รูปแบบวิธีการก่อสร้างจนเป็นรูปปิรามิดที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีการสร้างวิหารเทพเจ้า เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมของนักบวช และวิหารพิธีศพ เพื่อใช้ประกอบพิธีศพ ในสมัยอาณาจักรใหม่ (1020 ปีก่อน พ.ศ. - พ.ศ. 510) วิหารเหล่านี้มีขนาดใหญ่โต และสวยงาม ทำจากอิฐและหิน ซึ่งนำรูปแบบวิหารมาจากสมัยอาณาจักรกลางที่เจาะเข้าไปในหน้าผา บริเวณหุบผากษัตริย์และ หุบผาราชินี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีสุสานกษัตริย์และราชินีฝังอยู่เป็นจำนวนมาก 


 



ที่มา     http://www.buchladenbkk.com/